ประโยชน์ของ Hemp Seed Oil และ THC Oil ที่ช่วยด้านการรักษาอาการปวด

หมวดหมู่: บทความน่ารู้

เฮมพ์ (Hemp Seed Oil ) หรือ กัญชงเป็นเหมือนญาติสนิทกับกัญชา เนื่องจากกัญชา (Drug plant) และกัญชง (Hemp plant) เป็นพืชที่อยู่ในบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 เป็นสาเหตุทำให้การปลูกตลอดจนการนำมาใช้ประโยชน์ทำได้น้อยและมีขีดจำกัดบางตัวนำมาสกัดเป็น กัญชงเป็นพืชที่มีแหล่งกำเนิดในเขตเอเชียกลาง มีการกระจายแพร่ไปทั่วเอเชียตะวันออก อินเดีย ตลอดจนทวีปยุโรป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. (รูปที่ 1) และเป็นพืชในวงศ์ CANNABACEAE คือวงศ์เดียวกับ กัญชา หรือ Marijuana (Cannabis indica Lam.) ซึ่งมีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกัน ทำให้สับสนเข้าใจว่ากัญชงมีสรรพคุณเป็นสารเสพติดเหมือนกัญชาในการเสพ การจำแนกพืชสดทั้งสองชนิดจากลักษณะภายนอกที่มองเห็นสามารถนำมาจำแนกได้บางส่วน ดังตารางที่ 1 แต่อย่างไรก็ตาม การจำแนกด้วยองค์ประกอบของสารเคมี สามารถจำแนกได้ชัดเจนดีกว่า ในประเทศไทยมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) มีการศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์ของกัญชง และขึ้นทะเบียนพันธุ์กับกรมวิชาการเกษตรได้ถึง 4 สายพันธุ์


รูปที่ 1 ใบกัญชง 

ที่มา: https://pixabay.com/vectors/baking-cannabis-hemp-leaf-1293986/


รูปที่ 2 ส่วนช่อดอก  

ที่มา: https://www.projectcbd.org/cbd-101/cbd-myths-busted

องค์ประกอบสำคัญ 
องค์ประกอบสำคัญหลัก ๆ ที่พบในพืชตระกูลนี้ คือสารในกลุ่มคานนาบินอยด์ (Cannabinoids) โดยมีโครงสร้างหลักในรูปของเทอร์พีนอยด์ (Terpenoids) มีสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ (δ-9-tetrahydrocannabinol หรือ Δ9-THC) (THC Oil )คานนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD)  (รูปที่2) คานนาบินอล (Cannabinol, CBN) และอนุพันธ์ของคานาบินอยด์รูปแบบอื่น ๆ นิยมใช้การตรวจวัด Δ9- THC (THC Oil ) เป็นการตรวจเอกลักษณ์ (Identification) กัญชงแยกจากกัญชาได้  

เนื่องจากสาร (THC Oil ) เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psychoactive) กับตัวรับคาร์นาบินอยด์ชนิดที่ 1 (Carnabinoid receptor I, CB1) ในระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลแบบเฉียบพลัน ทำให้ร่างกายผ่อนคลายและมีความรู้สึกสนุก แต่มีอาการข้างเคียงต่อจิตประสาท กระวนกระวาย ซึมเศร้า มีความบกพร่องในความจำและการเรียนรู้ ตลอดจนการทำงานของระบบเคลื่อนไหว การพูดและการใช้ศัพท์ มีผลต่อการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต (อ้างถึง ศ.ดร.ภญ.บังอร ศรีพานิชกุลชัย ในองค์การเภสัชกรรม และภาคีเครือข่าย, 2561) ในขณะที่สาร CBD เมื่อเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางสามารถจับกับ CB1 ได้ไม่ค่อยดี (Non-psychoactive) พบว่า มีฤทธิ์ต้านการชัก ทำให้ง่วง และลดการกระวนกระวายได้

การได้รับทั้ง (THC Oil ) และ CBD ช่วยลดอาการที่ไม่พึงประสงค์ของ (THC Oil ) ได้ และช่วยเพิ่มความอยากอาหารมากขึ้น รวมทั้งลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยจากมะเร็งได้ จากงานวิจัยเรื่อง The dual effects of ∆ 9 -tetrahydrocannabinol on cholangiocarcinoma cells: anti-invasion activity at low concentration and apoptosis induction at high concentration โดย ผศ.ดร.สุรางค์ ลีละวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ยืนยันผลการศึกษาในหลอดทดลองว่า สาร THC โดยทำออกมารูปแบบ THC Oil  มีฤทธิ์ลดการเจริญเติบโตและลดการลุกลามของเซลล์มะเร็งทางเดินน้ำดีในหลอดทดลอง (องค์การเภสัชกรรม และภาคีเครือข่าย, 2561)

ปัจจุบันมีผู้สนใจนำสารดังกล่าวมาศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบยาต่าง ๆ โดยเตรียมจากสารสกัด (THC Oil ) และ CBD กันมาก ทั้งในรูปการกิน ซึ่งร่างกายดูดซึมไปใช้งาน (Bioavailable) ได้เพียง 4 -20 % และแบบสูดดม หรือสเปรย์ไอระเหย ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้สูง 10 – 69 % (อ้างถึง รศ.ดร.ภญ.กรกนก อิงคนินันท์ ในองค์การเภสัชกรรม และภาคีเครือข่าย, 2561) อย่างไรก็ตาม การขออนุญาตใช้ และการขอซื้อสารมาตรฐาน THC และ CBC มีปัญหาและอุปสรรคมาก มีความล่าช้า และไม่คล่องตัวในการเตรียมเอกสาร เพื่อขออนุญาตเนื่องมาจากกัญชง และกัญชายังคงอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2552 – 2556) ปัจจุบันเริ่มมีการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 12) กำหนดเพิ่มเติมเงื่อนไขของกัญชา ให้ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ทำให้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารสำคัญของเฮมพ์ในประเทศไทยมีหลากหลายมากขึ้น และกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเฮมพ์ (Hemp Seed Oil ) พ.ศ. 2559 เพื่อให้มีกฎกระทรวงกำกับดูแลเฮมพ์เป็นการเฉพาะ โดยเอื้อให้มีการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจ และนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งมีการรวมกลุ่มของชาวม้ง ณ กลุ่มทอผ้าใยกัญชง บ้านใหม่ยอดคีรี อำเภอพบพระ จังหวัดตาก (รูปที่ 3) ภายใต้การควบคุมดูแลการปลูก มิให้มีระดับของสารเสพติดเกินกำหนด ตลอดจนมิให้เกิดการรั่วไหลออกนอกระบบในแง่ของการใช้เป็นสารเสพติด และมีการใช้ในทางที่ผิดได้ (กองควบคุมวัตุเสพติด, 2561; องค์การเภสัชกรรม และภาคีเครือข่าย, 2561)

 ตารางที่ 1 ความแตกต่างทางกายภาพ และทางองค์ประกอบทางเคมีในพืชเฮมพ์ และกัญชา 

ลักษณะ/สาร เฮมพ์ กัญชา
ใบและส่วนของช่อเมื่อนำมาสูบ ไม่ค่อยมีกลิ่นหอม สูบแล้วทำให้มีอาการปวดศีรษะ ขณะที่สูบกลิ่นคล้ายหญ้าแห้ง สูบมากมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท
ส่วนที่นำมาใช้เป็นหลัก เส้นใย (Fiber type) ใบ เมล็ด สารสกัด
% เส้นใยสูงสุด 35 % 15 %
ปริมาณ THC พบปริมาณ THC ไม่ต่างกันในช่วงการปลูก แต่ CBD ที่ปลูกในช่วงเมษายน >มิถุนายน > ช่วงสิงหาคม ไม่มีข้อมูลการวิจัยระบุ
ปริมาณ CBD
ปริมาณ THC 
(โดยน้ำหนักแห้ง)
0.3 – 1.0 % > 10 - 20 %
อัตราส่วน CBD:THC มากกว่า 2 – 17 เท่า 0.14 – 0.4

ที่มา: กองควบคุมวัตุเสพติด (2561); ไพลิน ภูวนัย ประภัสสร ทิพย์รัตน์ และชำนิวิกัยพงศ์ (2558)


รูปที่ 3 ที่ทำการกลุ่มทอผ้าใยกัญชง บ้านใหม่ยอดคีรี อ.พบพระ จ.ตาก
ที่มา: กรองแก้ว ทิพยศักดิ์ (2562)

จากการศึกษามีข้อมูลว่าสารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของพืชตระกูลนี้ มีฤทธิ์ในทางเภสัชวิทยามากมาย จึงเป็นจุดเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในตอนนี้ว่า จะมีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฏหมายให้สามารถทำการปลูก สกัดสารสำคัญมาใช้ในทางการแพทย์ได้รวดเร็วมากน้อยแค่ไหน ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างสารเคมีสำคัญที่พบในพืชตระกูลนี้ คือสาร Delta-9-tetrahydrocannabinol(Δ9-THC), (-)-Δ9-trans-tetrahydrocannabinolic acid (THCA), Cannabinol (CBN), Cannabidiol เป็นต้น ดังตารางที่ 2

จุดเด่นของ(เฮมพ์) นอกจากในแง่ของการให้สารสกัดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแล้ว ยังมีการนำมาใช้ประโยชน์อื่น ๆ ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร และสิ่งทอจากเส้นใยในการถักทอ ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เนื่องจากมีคุณภาพสูง เส้นใยมีความอ่อนนุ่ม เหนียว เส้นใยยาว สามารถนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง หรือนำมาทดแทนหลอดพลาสติกได้อีกด้วย (รูปที่ 4) ในวิถีของชนเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทยมีการนำเส้นใยกัญชงมาทอผ้าใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อของชนเผ่า หลายประเทศมีการส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากกัญชง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนจัดให้เฮมพ์เป็นหนึ่งในห้าพืชเศษฐกิจใหม่ของประเทศ ประเทศในแถบยุโรปมีการจัดตั้งสมาคมการใช้เฮมพ์ในอุตสาหกรรม (European Industrial Hemp Association, EIHA) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของเฮมพ์


รูปที่ 4 แกนกัญชงนำมาทดแทนหลอดพลาสติก

ที่มา: กรองแก้ว ทิพยศักดิ์ (2562)

ตารางที่ 2 สารสกัดที่พบในพืชตระกูล Cannabis

ชื่อสารเคมี /CAS no. สูตรโครงสร้าง มวลโมเลกุล (กรัมต่อโมล) คุณสมบัติ
1. Delta-9-tetrahydrocannabinol (Δ9-THC) CAS No.1972-08-3
C21H30O2 
314.46  มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมันหนืดและข้น มีความสามารถในการแตกตัวให้โปรตอนเสมือนเป็นกรดได้น้อย (pKa = 10.6) ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในเอทิลแอลกอฮอล์ คลอโรฟอร์ม หรือเฮกเซน
2. (-)-Δ9-trans-tetrahydrocannabinolic acid (THCA) 
CAS No. 23978-85-0

C22H30O4
358 เมื่อเกิดการสลายตัว ทำให้หมู่คาร์บอกซิเลตหลุดออกมา (Decomposition or Decarboxylation) ที่อุณหภูมิประมาณ 125 – 150๐C สลายเป็นสาร THC ได้ สาร THCA มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือเป็นยาปฏิชีวนะได้ (Antibiotic) สมบัติในการละลายในตัวทำละลายอินทรีย์คล้ายคลึงกับสาร THC ดังนั้นในการสกัดสามารถสกัดออกมาด้วยกันได้ แต่ถ้าสกัดอุณหภูมิสูงกว่า 125 – 150C อาจเกิดการสลายตัวของสาร THCA
3. Cannabinol (CBN) 
CAS No. 521-35-7

C21H26O2
310.43 จุดหลอมเหลว 76-77C ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในเอทิลแอลกอฮอล์ คลอโรฟอร์ม หรือเฮกเซน สารนี้มีฤทธิ์ทางเภสัชแบบกล่อมประสาท (Sedative) คลายกล้ามเนื้อ ลดความกังวล หรือใช้เป็นยาปฏิชีวนะได้
4. Cannabidiol (CBD)
CAS No. 13956-29-1

C21H30O2
314.46 จุดหลอมเหลวต่ำ 66-67๐C ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในเอทิลแอลกอฮอล์ คลอโรฟอร์ม หรือเฮกเซน สารนี้มีฤทธิ์ทางเภสัชหลักคือทำให้สงบ หรือคลายเครียด (Anxiolytic) รักษาโรคจิต แก้อาการเกร็ง แก้ปวดได้
5. Cannabigerol (CBG)
CAS No. [25654-3] E; [95001-70-0] (E/Z)

C21H32O2
316.48 ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ ฆ่าเชื้อราได้
6. Cannabivarin (CBV)
CAS No. 33745-21-0

C19H22O2
282.38 ไม่มีข้อมูล
7. Cannabichromene (CBC)
CAS: 20675-51-8

C21H30O2
314.46 เป็นยาแก้ปวด คลายเครียด เป็นยาปฏิชีวนะ ฆ่าเชื้อราได้ 

ที่มา: ปาริชาติ พจนศิลป์, 2562; United Nations Office on Drugs and Crime (2009)

ในการนำส่วนต่าง ๆ ของเฮมพ์ (Hemp Seed Oil )มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องสำอาง นิยมใช้ส่วนที่เป็นเมล็ดมาสกัดเป็นน้ำมัน โดยมีองค์ประกอบกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่สำคัญ เช่น กรดไลโนเลนิกหรือสารโอเมก้า 3 (Linolenic acid, ω-3) สูงถึง 22 % ของไขมันทั้งหมดที่สกัดได้ จัดว่าเป็นเมล็ดพืชที่มีสารโอเมก้า 3 มากเป็นอันดับสองรองจากเมล็ดแฟลกซ์ (Flax seed) ที่มีถึง 53% นอกจากนี้ น้ำมันจากเมล็ดเฮมพ์(Hemp Seed Oil)ยังมีกรดไลโนเลอิก หรือสารโอเมก้า 6 (Linoleic acid, ω-6) สูงถึง 54% ของไขมันทั้งหมดที่สกัดได้ (James Morgan, 2014) จึงมีการนำมาทำเครื่องสำอางบำรุงผิวกันในรูปแบบต่าง ๆ (รูปที่ 5)


รูปที่ 5 น้ำมันจากเมล็ดเฮมพ์  (Hemp Seed Oil )
ที่มา: https://ordinaryvegan.net/shop/cbd-oil-drops-hemp/

ในด้านงานวิจัยจากเส้นใย นักวิจัย Dr. David Mitlin จาก Clarkson University รัฐนิวยอร์ก มีการนำแกนและเส้นใยกัญชงที่ถือว่าเป็นวัสดุเหลือใช้ มาทำคาร์บอนนาโนทิวป์ (Carbon nanotubes) โดยให้ความร้อนกับเส้นใยที่อุณหภูมิสูง 180C ในสภาวะความดันสูงแบบใช้ไอน้ำ (Hydrothermal synthesis) และนำไปกระตุ้นกับโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และให้ความร้อนถึง 800C จนได้แผ่นคาร์บอนที่มีรูพรุนขนาดเล็กสูง (High micro porosity nanosheet) ที่มีโครงสร้างคล้ายกราฟีน (Graphene) (รูปที่ 6) แผ่นคาร์บอนนาโนนี้มีความหนาเพียง 10-30 นาโนเมตร แต่มีพื้นที่ผิวในการกักเก็บประจุในรูปพลังงานสูงมากกว่า 2,000 ตารางเมตรต่อน้ำหนักกรัม เมื่อนำไปผลิตระบบกักเก็บพลังงานชั้นสูง (Supercapacitors) สามารถประดิษฐ์เป็นขั้วเก็บประจุได้สูง (Supercapacitor electrodes) ถึง 12 วัตต์ชั่วโมงต่อกิโลกรัม (Wh/kg) วัสดุที่ผลิตนี้สามารถนำไปเป็นแบตเตอรีที่มีน้ำหนักเบาและเก็บประจุได้ดีกว่าที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มีศักยภาพในการนำมาผลิตเชิงอุตสาหกรรมได้ โดยเฉพาะมองในแง่ต้นทุนการผลิตการใช้เส้นใยกัญชงมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการใช้วัสดุอื่นในการผลิตตัวเก็บประจุ (Morgan, James 2014)


รูปที่ 6 กราฟีน (Graphene)
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B5%E0%B8%99
หมายเหตุ * กราฟีน (Graphene) เป็นการจัดเรียงตัวของอะตอมคาร์บอนที่มีโครงสร้างหกเหลี่ยมลักษณะคล้ายรังผึ้งใน 2 มิติ มีความแข็งแรงคล้ายเพชร น้ำหนักเบา สามารถนำความร้อน และนำไฟฟ้าได้ดีมากที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งดีกว่าตัวนำยิ่งยวด (Superconductor) ที่ต้องการอุณหภูมิติดลบมาก ๆ ในการนำไฟฟ้า กราฟีนเป็นสารกึ่งตัวนำกึ่งโลหะที่สามารถบิด ทำให้โค้งงอ หรือพับโดยไม่ทำให้โครงสร้างหกเหลี่ยมเสียหาย

ประโยชน์ ของ “เฮมพ์”(Hemp Seed Oil ) หรือกัญชงมีมากกว่าที่ประเทศไทยเราจะมองแค่เป็นพืชเสพติด มีดมีสองด้านฉันใดเราสามารถนำมีดด้านที่คมมาใช้ประโยชน์ได้อย่างระมัดระวัง “เฮมพ์”(Hemp Seed Oil )ก็เช่นกัน ดังนั้นนักวิชาการควรเร่งทำการศึกษา ค้นคว้า ให้สามารถนำส่วนของสารสกัดต่าง ๆ เส้นใย และส่วนอื่น ๆ ของเฮมพ์มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ก่อนจะสายไม่ทันนานาประเทศ

14 กรกฎาคม 2565

ผู้ชม 1262 ครั้ง